วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

กลุ่มดนตรีคลาสสิค(Classic Music ) เพื่อการพัฒนาI.Q.,E.Q.และสมาธิ

ดนตรีคลาสสิกเป็นเพลงไพเราะอันทรงคุณค่า เป็นดนตรีของยุโรปนับตั้ง

แต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 มาจนถึงราวปี ค.. 1820 เป็นดนตรีที่มีแบบฟอร์มสลับซับซ้อน มีทั้งเพลงประเภทเต้นรำ เพลงรักเพลงทีบรรยายถึงธรรมชาติ จะมีลักษณะบรรยากาศที่ช้าและเร็วสลับกันไป เป็นดนตรีที่เกิดขึ้นจากในวัดในโบสถ์จนกลายมาเป็นเพลงชาวบ้านมีกระบวนเพลงด้วยกันหลายกระบวนเร็ว-ช้า-เร็ว สลับกันไป เป็นเพลงที่มีศักยภาพสูงมากในการสื่อสารทางอารมณ์และสติปัญญาอย่างเข้มข้นและลึกซึ้ง มีความวิเศษและเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์มาก ก็เพราะได้รับการยกย่องกันว่าเป็นเพลงคลาสสิกของทุกวัฒนธรรมสามารถตอบสนองการรับฟังของมนุษย์เราได้ในทุกระดับซึ่งบทเพลงของดนตรีกลุ่มนี้ รับรองกันแล้วว่าดีถึงขนาด อยู่มานานและจะอยู่ไปได้อีกนานๆ เป็นผลงานของศิลปินที่มีความสมบูรณ์ ความบริสุทธิ์ ความกระจ่างชัดในด้านเนื้อหาและแบบแผนหรือรูปทรง  ทั้งเป็นสมบัติล้ำค่าของมวลมนุษยชาติ (classic ในที่นี้แปลว่า อมตะ ไม่ตายง่ายๆบางบทบางประเภทก็ประเทืองปัญญา บางบทบางประเภทก็ประเทืองอารมณ์อันลึกซึ้งละเอียดอ่อน บางบทบางประเภทก็มีพลังลึกล้ำที่สามารถปลดปล่อยความรู้สึกและอารมณ์ที่ขึ้นๆลงๆตามประสามนุษย์ของเราได้ดียิ่งกว่าเพลงประเภทอื่นใด สรุปคืออยู่มาได้นานและจะอยู่ต่อไปได้อีกนานๆ เพราะเป็นดนตรีที่เข้มข้นสุดฤทธิ์สุดเดชในหลากหลายทางยิ่งกว่าเพลงประเภทใดๆ

ดนตรีคลาสสิกกับการพัฒนาไอคิว(I.Q.)

โมสาร์ท เอฟเฟค(The Mozart  Effects ) เป็นเรื่องกำเนิดมาจากการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาสติปัญญาเด็กด้วยการให้เด็กฟังเพลงคลาสสิก  ได้เริ่มต้นจากข้อสมมติฐานที่เชื่อว่าเด็กจะโตขึ้นและมีสติปัญญาฉลาดเฉลียว ถ้าได้ให้ฟังเพลงคลาสสิก

มีข้อสมมติฐานดังกล่าวมีต้นกำเนิดมาจากผลงานค้นคว้าในปี 1993 ของ Frances Rauscher นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย University of California วิทยาเขตเออร์ไวน์

การวิจัยเกี่ยวกับ The Mozart  Effect  : เพลงคลาสสิคทางเลือกใหม่ของการพัฒนาศักยภาพสมองให้เกิดการเพิ่มพูนความทรงจำและความเฉลียวฉลาด(อริยะ สุพรรณเภษัช:2543) หลายปีที่ผ่านมา  ได้มีการทดลองซึ่งได้แสดงให้ทราบว่าการฟังดนตรีคลาสสิคจะทำให้สามารถเพิ่มพูนความทรงจำ  สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เรียกกันว่าThe Mozart Effect   เพราะว่าเพลงที่คัดเลือกมาใช้มาใช้ในการเพิ่มพูนความจำนั้นเป็นเพลงของ Wolfgang Amadeus Mozart ประชาชนที่ได้อ่านรายงานเกี่ยวกับการทดลองนี้จากวารสารและหนังสือพิมพ์ชื่อดังต่าง ๆ ก็สนใจที่จะฟังเพลงคลาสสิคเพราะว่ามันน่าจะเป็นวิถีทางที่ดีที่จะเพิ่มพูนความจำและเพิ่มความเฉลียวฉลาดทางปัญญา

การทดลองนี้จุดเริ่มต้นได้ตีพิมพ์ที่ The Journal Nature โดยคณะนักวิทยาศาสตร์  ของ University of California  ที่ เมือง Irvine ในปี 1993  คณะวิจัยได้ทำการวิจัยโดยใช้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยดังกล่าว  โดยแบ่งนักศึกษาออกเป็น กลุ่มกำหนดให้ฟังเสียงต่อไปนี้ 10 นาที  ได้แก่
1.  เพลง  sonata for two pianos in D major   ของ Mozart
2.  เพลง relaxation
3.  ความเงียบ silence

ในทันทีหลังจากได้ฟังสิ่งที่คัดเลือกเหล่านั้น  นักศึกษาแต่ละคนจะได้รับแบบทดสอบวัด ทักษะเหตุผลด้านมิติสัมพันธ์(spatial reasoning test)  จาก  สแตมฟอร์ด-บิเนห์ อินเทลลิเจนท์ เทสส์(the Stanaford-Binet Intelligence test)  ผลได้แสดงว่าคะแนนของนักเรียนเพิ่มขึ้นหลังจากได้ฟังเพลงของโมสาร์ท  เมื่อเปรียบเทียบกับการฟังเพลงจากเทป relaxation และ ความเงียบ  ภายใต้เวลาที่ผ่านไป 10-15 นาทีที่คณะวิจัยได้ทดลองกับกลุ่มทดลอง 

ซึ่งพวกเขาได้มีความเชื่อว่าความทรงจำจะสามารถถูกเพิ่มพูนได้เพราะว่า ดนตรีและความสามารถของทักษะด้านมิติสัมพันธ์และการจินตนาการเกี่ยวกับตำแหน่งและเนื้อที่ของวัตถุในระบบ มิติ และทักษะความฉลาดในการใช้ช่องว่าง(spatial abilities) ภายในสมอง  จะมีความสัมพันธ์ร่วมกันภายในสมอง 

 ดังนั้นพวกเขาจึงได้คิดสรุปว่าดนตรีจะมีส่วนในการช่วยกระตุ้นสมองสำหรับการทดสอบด้วยแบบทดสอบวัดทักษะเหตุผลด้านมิติสัมพันธ์(  the spatial reasoning test)ซึ่งจะทำให้มีเชาว์ปัญญาดีขึ้น ทางด้าน spatial-temporal หรือด้านการจิตนาการและการลำดับเวลา ซึ่งเป็นข้อบ่งบอกความเฉลียวฉลาดของคน

ดนตรีโมสาร์ท  ต่อมาได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการพัฒนาศักยภาพสมองในเด็กทารก โดยเชื่อว่าถ้าทารกคนไหนได้ฟังเพลงโมสาร์ท เป็นประจำ ทารกคนนั้นโตขึ้นจะมีสมองดี นอกจากนี้ความรู้ดังกล่าวยังได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางเพิ่มขึ้นเพราะต่อมาไม่นาน รัฐจอร์เจีย ซึ่งเป็นรัฐๆ หนึ่งของสหรัฐ ก็ได้ออกกฎบังคับให้เด็กเกิดใหม่ทุกคน ต้องได้รับการแจกแผ่นดิสก์เพลงโมสาร์ท  ตามด้วยรัฐฟลอริดา ที่ได้บังคับให้เด็กนักเรียนทุกคนต้องฟังเพลงดนตรีคลาสสิกทุกวันที่ไปโรงเรียน

อาจกล่าวได้ว่า ทุกวันนี้อุตสาหกรรมที่หากินกับผลวิจัยThe Mozart effects กำลังเจริญรุ่งเรืองมาก รวมทั้งการทำการวิจัยเพื่อขยายผลการวิจัยชิ้นนี้ ซึ่งล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว ได้พบว่า เด็กชั้นประถมปีที่ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในนครลอสแองเจลิส หลังเริ่มเรียนเปียโนนาน เดือน มีผลการเรียนวิชาเลขคณิต ดีกว่าเด็กที่ไม่ได้เรียนถึง 27 เปอร์เซ็นต์

เรื่องแปลกคือ ตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา ยังไม่มีนักวิจัยคนไหนทำผลวิจัยThe Mozart effects ออกมาได้อีก เรื่องนี้ Rauscher ผู้ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์วิชา การพัฒนาการเรียนรู้แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน วิทยาเขตออชคอช ได้ออกมาได้ว่า เป็นเพราะแบบการวิจัย ที่ทำขึ้นใหม่ ไม่ได้ตรงกับของเดิม อย่างไรก็ตามยังคงมีการเชื่อกัน ดนตรีมีผลดีต่อเด็กจริงๆ

กอร์ดอน ชอว์  ศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเออร์ไวน์ และ ดร.ฟรานซิส โรเชอร์ แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ประเทศสหรัฐอเมริกา  ทำวิจัยพบว่า  การฟังดนตรีของคีตกวีก้องโลก วูลฟ์กัง อมาเดอุส โมสาร์ท แม้เพียงแค่ช่วงระยะเวลาสั้น ๆ จะช่วยทำให้สมองของมนุษย์มีการรับรู้ได้เร็วขึ้น

ชอว์ได้ทำการทดสอบกับนักศึกษาจาก 36 สถาบัน  โดยให้กลุ่มผู้ถูกทดสอบฟังบทเพลงเปียโนโซนาต้า เมเจอร์ของโมซาร์ท  แล้วจากนั้นทดสอบไอคิว   โดยนักศึกษาจะต้องตัดกระดาษที่พับไว้  และให้เดารูปทรงเมื่อคลี่แผ่นกระดาษออกมา พบว่านักศึกษาที่ฟังบทเพลงของโมซาร์ทระหว่างทำการทดสอบ มีระดับไอคิวสูงขึ้นจากเดิมอีก คะแนน  เมื่อเทียบกับผลการทดสอบในห้องเงียบ ๆ ที่ปราศจากเสียงเพลงของโมสาร์ท
ทั้งนี้ คณะวิจัยชุดดังกล่าวแจกแจงว่า  ดนตรีคลาสสิคช่วยให้มนุษย์สามารถใช้เหตุผลทางนามธรรมได้สูงขึ้น  ซึ่งเป็นผลดีต่อการเรียนวิชาทางด้านคณิตศาสตร์  ขณะที่การฟังจังหวะเพลงร็อคและเพลงแจ๊ซนิวเอจซ้ำๆ จะทำให้การใช้เหตุผลทางนามธรรมของมนุษย์ลดลง (ยูเรนัส,2542)


ดร.Kenneth Steele และคณะ  (1999) รายงานการวิจัยของคณะนักวิจัยที่  Appalachian State University  โดยตีพิมพ์ใน  Issue of Psychological Science ฉบับวันที่ 10 กรกฎาคม 1999  Vol.10  Pages 366-369 ดร.Kenneth Steele และ ผู้ร่วมงานวิจัย ซึ่งได้รายงานอธิบายสรุปสภาวะที่เกิดขึ้นกับสมองดังนี้   (อริยะ สุพรรณเภษัช:2543)


มีเหตุต่าง ๆ อยู่เล็กน้อยที่เป็นพื้นฐานที่จะช่วยสนับสนุนความเฉลียวฉลาด”  ผู้วิจัยได้ประสบความสำเร็จในการค้นพบ The Mozart Effect  ซึ่งได้มีการเจาะลึกถึงผลกระทบที่เกิดจากกิจกรรมด้านดนตรีกับทักษะการคิดวิเคราะห์เหตุผลเชิงความสัมพันธ์สิ่งต่าง ๆ (spatial-temporal reasoning) พวกเขาเลือกนักเรียนอนุบาล อายุอยู่ระหว่าง 3-4 ปี  มาทำการทดลองอยู่ เดือน  โดยเด็กนักเรียนถูกแบ่งออกเป็น  กลุ่ม
กลุ่มที่ 1   ให้รับการอบรมบทเรียนทางด้านคีย์บอร์ด (Keyboard lessons)
กลุ่มที่ 2   ให้รับการอบรมบทเรียนทางด้านการร้องเพลง(Singing lessons)
กลุ่มที่ 3   ให้รับการอบรมบทเรียนทางด้านคอมพิวเตอร์ (Compuer lessons)
กลุ่มที่ 4   ไม่ได้รับการอบรม    (No lessons)

หลังจากการปฏิบัติ เดือน  เด็กเหล่านั้นได้ถูกทดสอบพวกเขาในความสามารถทางด้าน  ทักษะการคิดวิเคราะห์เหตุผลเชิงความสัมพันธ์สิ่งต่าง ๆ (spatial-temporal reasoning) และทักษะความทรงจำเกี่ยวกับรูปร่าง (Spatial-recognition reasoning)  ผลปรากฎว่าเป็นที่น่าภาคภูมิใจ  พวกเขาพบว่ากลุ่มเด็กที่ได้รับการอบรมบทเรียนทางด้านคีย์บอร์ดสามารถทำคะแนนจากการทดสอบ ความสามารถทางด้าน  ทักษะการคิดวิเคราะห์เหตุผลเชิงความสัมพันธ์สิ่งต่าง ๆ ( the spatial-temporal test)   ได้เพิ่มพูนขึ้น  แม้แต่ว่าการทดลองต่อมาจะใช้เวลาสำหรับการอบรมบทเรียนทางด้านคีย์บอร์ดเพียงวันเดียว  เด็กเหล่านั้นก็ยังคงแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของคะแนน แต่เด็กกลุ่มอื่นไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง  นอกจากนี้ในการทดสอบคะแนนจากแบบทดสอบทักษะความทรงจำเกี่ยวกับรูปร่าง(Spatial-recognition test) สำหรับการอบรมบทเรียนทางด้านคีย์บอร์ดเพียงวันเดียวพบว่ามีการเพิ่มพูนขึ้นของคะแนน แต่สำหรับกลุ่มอื่นไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงของคะแนน     การทดลองนี้ยืนยันเกี่ยวกับอิทธิพลของดนตรีที่มีต่อการพัฒนาศักยภาพทางสมอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น