วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ดนตรีช่วยบำบัดรักษาผู้ป่วยทางจิตประสาท

ปัจจุบันมีการนำดนตรีมาใช้ในการบำบัดและปรับพฤติกรรมของผู้ป่วยทางจิตประสาทมากขึ้น เพราะดนตรีเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับจิตใจและอารมณ์โดยตรง ดังนั้น การให้ผู้ป่วยทางจิตประสาทได้ทำกิจกรรมดนตรี จะช่วยทำให้อาการป่วยดีขึ้นได้ โดยผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว มีอารมณ์รุนแรง สามารถบำบัดได้ด้วยการให้ฟังเพลงบรรเลงที่มีทำนองและจังหวะช้าๆ ซึ่งจะมีผลทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย ใจเย็น และลดความก้าวร้าวลงได้ ส่วนผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมซึมเศร้า เครียด เก็บตัว สามารถบำบัดได้ด้วยการให้ฟังเพลงบรรเลงที่มีทำนองและจังหวะร่าเริงแจ่มใส ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยมีอารมณ์ดีขึ้นและรู้สึกผ่อนคลายความเครียดมากขึ้น

ผลของดนตรีต่อร่างกายและจิตใจ

ดนตรีมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจ และการทำงานของสมองในหลาย ๆ ด้าน จากการศึกษาวิจัยพบว่าผลของดนตรีต่อร่างกาย สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอัตราการหายใจอัตราการเต้นของชีพจรความดันโลหิต, การตอบสนองของม่านตา, ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และการไหลเวียนของเลือด จึงมีการนำดนตรีมาประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคภัยไข้ เจ็บทั้งร่างกายและจิตใจ เรียกกันว่าดนตรีบำบัด (music therapy)
ประโยชน์ของดนตรีบำบัดมีหลายประการ เช่น ช่วยปรับสภาพจิตใจ ให้อยู่ในสภาวะสมดุล มีมุมมองในเชิงบวก ผ่อนคลายความตึงเครียด ลดความวิตกกังวล กระตุ้น เสริมสร้าง และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และความจำ กระตุ้นประสาทสัมผัส การรับรู้ เสริมสร้างสมาธิ พัฒนาทักษะสังคม พัฒนาทักษะการสื่อสารและการใช้ภาษา พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว ลดความตึงตัว ของกล้ามเนื้อ ลดอาการเจ็บปวดจากสาเหตุต่าง ๆ ปรับลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม สร้างสัมพันธภาพที่ดีในการบำบัดรักษาต่าง ๆ และช่วยเสริมในกระบวนการบำบัดทางจิตเวช ทั้งในด้านการประเมินความรู้สึก สร้างเสริมอารมณ์เชิงบวก การควบคุมตนเอง การแก้ปมขัดแย้งต่าง ๆ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวมันดีต่อร่างกายตรงที่ว่าทำให้ร่างกายผ่อนคลาย

รูปภาพ : ดนตรีช่วยบำบัดรักษาผู้ป่วยทางจิตประสาท

ปัจจุบันมีการนำดนตรีมาใช้ในการบำบัดและปรับพฤติกรรมของผู้ป่วยทางจิตประสาทมากขึ้น เพราะดนตรีเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับจิตใจและอารมณ์โดยตรง ดังนั้น การให้ผู้ป่วยทางจิตประสาทได้ทำกิจกรรมดนตรี จะช่วยทำให้อาการป่วยดีขึ้นได้ โดยผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว มีอารมณ์รุนแรง สามารถบำบัดได้ด้วยการให้ฟังเพลงบรรเลงที่มีทำนองและจังหวะช้าๆ ซึ่งจะมีผลทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย ใจเย็น และลดความก้าวร้าวลงได้ ส่วนผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมซึมเศร้า เครียด เก็บตัว สามารถบำบัดได้ด้วยการให้ฟังเพลงบรรเลงที่มีทำนองและจังหวะร่าเริงแจ่มใส ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยมีอารมณ์ดีขึ้นและรู้สึกผ่อนคลายความเครียดมากขึ้น